
สมัยสุโขทัย หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยไว้มากมาย มีวงดนตรีไทยดังนี้ วงบรรเลงพิณ วงขับไม้
วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงมโหรี
สมัยทวารวดี ปรากฎหลักฐานในภาพปูนปั้นที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นภาพผู้หญิงห้าคนเล่นดนตรี
สมัยอยุธยา เครื่อง ดนตรีมีครบถ้วนทั้งดีด สี ตี เป่า ชาวบ้านนิยมเล่นกันมาก จนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต้องออกกฎมณเฑียรบาล ห้ามเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน
รัชกาลที่ 1 มีการเพิ่มกลองทัดในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกหนึ่งลูก รวมเป็นสองลูก เสียงสูงลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวผู้” เสียงต่ำลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวเมีย
รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงซอสามสายได้ไพเราะ (ซอสามสายของพระองค์ได้มีนามว่า ซอสายฟ้าฟาด)
รัชกาลที่ 3 ทรงให้ยกเลิกละครหลวง การละครและดนตรีจึงไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ตามวังของเจ้านาย ซึ่งส่งผลให้ดนตรีไทยแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน เกิดเครื่องดนตรีขึ้นอีกสองชนิดในวงปี่พาทย์ คือระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก
รัชกาลที่ 4 เกิดระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก
รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ฯ เสด็จยุโรปนำละครโอเปรา มาปรับปรุงเป็น ละครดึกดำบรรพ์ ปรับปรุงวงปี่พาทย์ให้มีเสียงนุ่มนวลขึ้นเพื่อประกอบการแสดงละครรูปแบบใหม่ โดยนำเครื่องดนตรีที่มีเสียง มาแทนเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังหรือเสียงเล็กแหลม เรียกวงปี่พาทย์นี้ว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์”รัชกาลที่ 6 ได้การปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับ วงปี่พาทย์ของไทย ต่อมาเรียกวงดนตรีผสมนี้ว่า “วงปี่พาทย์มอญ” และกลายเป็นที่นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ
สมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงราตรีประดับดาว (เถา)
สมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน ในยุคของพระองค์ได้มีการวัดความถี่ของเสียงดนตรีไทยให้เป็นมาตรฐาน สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงประพันธ์เพลง ไทยดำเนินดอย
งค์ประกอบของดนตรี
1. จังหวะ (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวของทำนองเพลง อาจกำหนดไว้เป็นความช้าเร็วต่าง ๆ กัน เช่นเพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว ซึ่งจังหวะจะบอกถึงลีลา อารมณ์ของบทเพลงนั้น ๆ ถ้าเป็นจังหวะของดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีประเภท ฉิ่ง จังหวะหน้าทับ และจังหวะสามัญ เป็นตัวกำกับ
2. เสียงดนตรี (Tone) เป็นเสียงสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น การร้อง การเป่า การดีดและการสี แบ่งเป็น ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
2. เสียงดนตรี (Tone) เป็นเสียงสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น การร้อง การเป่า การดีดและการสี แบ่งเป็น ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
3. ทำนอง (Melody) หมายถึง การจัดเรียงลำดับเสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม ของดนตรีหรือบทเพลงทำนองของดนตรีหรือทำนองของบทเพลงแต่ละเพลง
4. การประสานเสียง (Harmony) หมายถึง การผสมผสานเสียงตั้งแต่ 2 เสียงขึ้นไป โดยเรียบเรียงนำเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน
5. คีตลักษณ์ หรือรูปแบบ (Music Form) โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน
6. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture) เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับการประสาน ทำให้เกิดภาพรวมของ
6.1 แบบโมโนโฟนี (Monophony) ดนตรีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด6.2 แบบโฮโมโฟนี(Homophony) มีทำนองหลักและทำนองประสาน ทำให้ไพเราะ เช่น เพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน
6.3 แบบโพลิโฟนี(Polyphony) มีทำนองหลายแนวมาประสานกับทำนองหลัก
7. สีสันของเสียง (Tone Color) คุณสมบัติของเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องของมนุษย์
4. การประสานเสียง (Harmony) หมายถึง การผสมผสานเสียงตั้งแต่ 2 เสียงขึ้นไป โดยเรียบเรียงนำเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน
5. คีตลักษณ์ หรือรูปแบบ (Music Form) โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน
6. รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture) เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับการประสาน ทำให้เกิดภาพรวมของ
6.1 แบบโมโนโฟนี (Monophony) ดนตรีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด6.2 แบบโฮโมโฟนี(Homophony) มีทำนองหลักและทำนองประสาน ทำให้ไพเราะ เช่น เพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน
6.3 แบบโพลิโฟนี(Polyphony) มีทำนองหลายแนวมาประสานกับทำนองหลัก
7. สีสันของเสียง (Tone Color) คุณสมบัติของเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องของมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น