วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การงานอาชีพ




ออกแบบการจดการเร ั ียนรู้โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วดชั ั้นปีเป็นเป้าหมาย ออกแบบการจดการเร ั ียนรู้โดยเน้นผ้เรู ียนเป็นศู นย์กลาง ใช้แนวคดิ Backward Design ผสมผสานกบแนวค ั ดทฤษฎ ิ การเร ี ียนรู้ต่าง ๆอย่างหลากหลาย ออกแบบการจดการเร ั ียนรู้เพอพื่ ฒนาสมรรถนะส ั ําคัญของนักเรียนในการสื่อสารการคดิ การแก้ปัญหาการใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี แบ่งแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง สะดวกในการใช้ มีองค์ประกอบครบถ้วนตามแนวทางการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา นําไปพฒนาเป ั ็นผลงานทางวิชาการเพอเลื่ ื่อนวิทยฐานะได
วิชา

คณิตศาสตร์



คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับโครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงและปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα(máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้" ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths

คริสต์ศาสนา




ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม

คอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก – ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว

ภาษาจีน

ดนตรี-นาฎศิลป์



สมัยสุโขทัย  หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยไว้มากมาย มีวงดนตรีไทยดังนี้ วงบรรเลงพิณ วงขับไม้
วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงมโหรี
สมัยทวารวดี ปรากฎหลักฐานในภาพปูนปั้นที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นภาพผู้หญิงห้าคนเล่นดนตรี
สมัยอยุธยา เครื่อง ดนตรีมีครบถ้วนทั้งดีด สี ตี เป่า ชาวบ้านนิยมเล่นกันมาก จนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต้องออกกฎมณเฑียรบาล ห้ามเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน
รัชกาลที่ 1
  มีการเพิ่มกลองทัดในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกหนึ่งลูก รวมเป็นสองลูก เสียงสูงลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวผู้” เสียงต่ำลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวเมีย
รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงซอสามสายได้ไพเราะ (ซอสามสายของพระองค์ได้มีนามว่า ซอสายฟ้าฟาด)
รัชกาลที่ 3  ทรงให้ยกเลิกละครหลวง การละครและดนตรีจึงไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ตามวังของเจ้านาย ซึ่งส่งผลให้ดนตรีไทยแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน  เกิดเครื่องดนตรีขึ้นอีกสองชนิดในวงปี่พาทย์ คือระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก
รัชกาลที่ 4  
เกิดระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก 
รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ฯ เสด็จยุโรปนำละครโอเปรา มาปรับปรุงเป็น ละครดึกดำบรรพ์ ปรับปรุงวงปี่พาทย์ให้มีเสียงนุ่มนวลขึ้นเพื่อประกอบการแสดงละครรูปแบบใหม่ โดยนำเครื่องดนตรีที่มีเสียง มาแทนเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังหรือเสียงเล็กแหลม เรียกวงปี่พาทย์นี้ว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์”รัชกาลที่ 6  ได้การปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับ วงปี่พาทย์ของไทย ต่อมาเรียกวงดนตรีผสมนี้ว่า “วงปี่พาทย์มอญ” และกลายเป็นที่นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ
สมัยรัชกาลที่ 7    ได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงราตรีประดับดาว (เถา)
สมัยรัชกาลที่ 9  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน ในยุคของพระองค์ได้มีการวัดความถี่ของเสียงดนตรีไทยให้เป็นมาตรฐาน สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงประพันธ์เพลง ไทยดำเนินดอย
 งค์ประกอบของดนตรี
1.  จังหวะ (Rhythmหมายถึง การเคลื่อนไหวของทำนองเพลง อาจกำหนดไว้เป็นความช้าเร็วต่าง ๆ กัน เช่นเพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว ซึ่งจังหวะจะบอกถึงลีลา อารมณ์ของบทเพลงนั้น ๆ ถ้าเป็นจังหวะของดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีประเภท ฉิ่ง จังหวะหน้าทับ และจังหวะสามัญ เป็นตัวกำกับ
2.  เสียงดนตรี (Toneเป็นเสียงสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น การร้อง การเป่า การดีดและการสี แบ่งเป็น ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
3.  ทำนอง (Melodyหมายถึง การจัดเรียงลำดับเสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม ของดนตรีหรือบทเพลงทำนองของดนตรีหรือทำนองของบทเพลงแต่ละเพลง
4.  การประสานเสียง (
Harmonyหมายถึง การผสมผสานเสียงตั้งแต่ 2 เสียงขึ้นไป โดยเรียบเรียงนำเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน
5.   คีตลักษณ์ หรือรูปแบบ (
Music Form)  โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน 
6.   รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture) เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับการประสาน ทำให้เกิดภาพรวมของ
6.1 แบบโมโนโฟนี (
Monophony) ดนตรีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด6.2 แบบโฮโมโฟนี(Homophony) มีทำนองหลักและทำนองประสาน ทำให้ไพเราะ เช่น เพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน
6.3 แบบโพลิโฟนี(Polyphony) มีทำนองหลายแนวมาประสานกับทำนองหลัก
7.  สีสันของเสียง (
Tone Color) คุณสมบัติของเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องของมนุษย์

เทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน    หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
            เช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวมจัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
            ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 
            ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปประยุกต์กันอย่างกว้างขวาง งานประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างระบบสารสนเทศแบบต่าง ๆ  มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมไปใช้ในหน่วยงานหรือธุรกิจต่าง ๆ มุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล การจัดระบบข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการจัดทำรายงาน ตลอดจนการจัดทำผลลัพธ์ของข้อมูลให้สามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาษาไทย













แนะแนว

ประวัติศาสตร์

ศิลปะ

สังคมศึกษา

สุขศึกษา-พลศึกษา


ภาษาอังกฤษ